ไบโพล่าร์เกิดจาก อะไร? รับมืออย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับโรคนี้

เนื้อหาบทความ

ไบโพล่าร์เกิดจาก อะไร? รับมืออย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับโรคนี้

เคยสังเกตตัวเองกันรึเปล่าว่าคุณเองมีอารมณ์แปรปรวน ตอนเช้าอารมณ์ดี ชั่วโมงถัดมาอารมณ์เสีย เป็นแบบนี้บ่อยครั้งหรือไม่? หลาย ๆ คนก็อาจจะรู้สึกได้ว่า ร่างกาย จิตใจ มีอาการผิดปกติไปจากเดิม เพราะเดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เพราะในช่วงเวลาที่ผ่านมาสังคมตั้งคำถามเกี่ยวกับอารมณ์คน 2 บุคลิกว่า เป็นอาการป่วย หรือโรคชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ไบโพล่าร์” นั่นเอง สำหรับวันนี้พวกเราจะพาท่านผู้อ่านไปเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ ไบโพล่าร์เกิดจาก อะไรกันแน่ ซึ่งไม่ได้ร้ายแรง แล้วก็ยังมีวิธีรักษา พร้อมทั้งวิธีการรับมือได้นั่นเอง อีกทั้งเรื่องราวของอาการต่าง ๆ วิธีสังเกตว่าคุณเองกำลังเป็นโรคนี้รึเปล่า ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รวบรวมข้อมูลมาให้คุณได้อ่านกันแบบเข้าใจง่าย และเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ได้อย่างเปิดใจมากขึ้น เพราะถ้ามันเกิดขึ้นในครอบครัวหรือกับตัวเองจะได้มีวิธีรับมือที่ถูกต้อง รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ติดตามอ่านกันได้ในบทความนี้


ไบโพล่าร์เกิดจาก อะไร?

ไบโพล่าร์เกิดจาก

การตั้งคำถามจากคนที่ไม่รู้ ก็อาจจะเข้าใจผิดได้ว่า โรคไบโพลาร์ ก็คือ โรคที่ทำให้คนเป็นบ้ารึเปล่า ? แต่ต้องบอกเลยว่าไม่ใช่อย่างแน่นอน โดยโรคนี้จะเรียกได้ว่าเป็นความผิดปกติของอารมณ์เป็นหลักมากกว่า โดยจะแบ่งอาการของผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม นั่นก็คือ กลุ่มอาการแบบ “แมเนีย-Mania” ที่จัดได้ว่าเป็นกลุ่มที่ มีอารมณ์ดี คึกคัก สนุกสนาน ส่วนอีกหนึ่งกลุ่มก็คือ กลุ่มอาการแบบ “ซึมเศร้า-Depress” เป็นอาการซึมเศร้า ไม่อยากทำอะไร คิดว่าตัวเองไม่ดีพอ นี่แหละคือโรคที่ถูกเรียกว่า “โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว” หรือไบโพล่าร์ นั่นเอง 

โรคไบโพล่าร์ ยังคงไร้สาเหตุที่แน่นอนของการเกิดโรคนี้ แต่ทว่ามีหลักฐานว่าเกิดได้จากหลายปัจจัย ที่มีร่วมกันในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น การใช้ชีวิต ความคิดส่วนตัว จิตใจ สังคม คนรอบข้าง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งมีผลจาการวิจัยที่ระบุว่า “โรคไบโพล่าร์” เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง เป็นสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุล ทำให้เซลล์สมองนั้น ทำงานได้ไม่ปกตินัก เพราะจากสมองที่เคยควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ทำงานผิดปกติ จึงทำให้การควบคุมอารมณ์นั้นทำงานได้บกพร่อง จึงเกิดอาการต่าง ๆ ที่เรามักจะเห็นได้ในผู้ป่วยหลายอย่างเลยทีเดียว ปัญหาทางสุขภาพจิตที่ควรรู้ไว้  

เกิดจากพันธุกรรม และปัญหาครอบครัว

ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยไบโพล่าร์ มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม หรือประวัติของคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคนี้ จะมีโอกาสที่จะพบได้มากกว่าคนทั่วไป ตัวอย่างเช่น พ่อหรือแม่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ตัวของลูกเองก็มีโอกาสที่จะป่วยได้เช่นเดียวกัน ประมาณร้อยละ 15-25 ที่จะเป็นโรคนี้ด้วย สำหรับโรคนี้จะพบได้ประมาณ ร้อยละ 1.5-5 ของประชากรทั่วไป ซึ่งช่วงอายุที่พบมักจะมีอาการคือช่วง วัย 15-19 ปี เป็นช่วงอายุที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงเลยทีเดียว เพราะผู้ป่วยบางคนจะมีอาการในระยะก่อนเข้าวัยรุ่นตอนช่วงต้นนั่นเอง สำหรับสาเหตุที่ทำให้มีอาการก็คือ ความเครียดสะสมในชีวิตเป็นตัวกระตุ้น รวมไปถึงปัญหาในครอบครัว หรือเรื่องไม่คาดฝัน ผิดหวังจากคนรัก ผิดหวังจากพ่อแม่ การเรียน การทำงาน เป็นต้น

เป็นโรคนี้ตอนอายุน้อย ไม่ใช่เรื่องดี

สำหรับโรคไบโพล่าร์ เมื่อเป็นตอนอายุน้อยเท่าไหร่ ยิ่งจะพบว่ามีโรคอื่นร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น โรควิตกกังวล มีการหันไปใช้สารเสพติด ที่จะทำให้ผ่อนคลาย ลืมความเครียด แต่แน่นอนว่าจะสะสมให้ร่างกาย จิตใจ ทรุดโทรมตามไปด้วย ช่วงเวลาที่อารมณ์เป็นปกติสั้นลง รวมไปถึงเรื่องรุนแรงว่าบางคนมีแนวโน้มไม่อยากมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ รู้สึกสิ้นหวัง พยายามที่จะฆ่าตัวตาย จากงานวิจัยพบว่า เมื่อผู้ป่วยเคยมีอาการแมเนีย แล้ว 1 ครั้ง ก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เพราะอาการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสภาพสังคม ครอบครัว คนรอบข้างที่อยู่เคียงข้างด้วย แนวทางการรักษาโรควิตกกังวล

ดังนั้นแล้วโรคไบโพล่าร์จะเกิดได้จากหลายสาเหตุมาก ยิ่งไปกว่านั้นการสะสมความเครียด ทำให้ทุกอายุ ทุกวัย ผู้ใหญ่วัยทำงาน หรือวัยรุ่น ก็สามารถป่วยเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน คนรอบข้างก็ควรที่จะสังเกตอาการของคนในครอบครัวให้ดี เพราะเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วการใช้ชีวิตประจำวันในทุกวันจะแตกต่างไปจากเดิม ดังนั้นก็ควรป้องกันเอาไว้ดีกว่าต้องมานั่งรักษากันทีหลัง แต่จะรู้ได้อย่างไร ? ว่าใครเข้าข่ายที่เสี่ยงเป็นโรคนี้ 


วิธีสังเกตอาการว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นไบโพล่าร์หรือไม่

ไบโพล่าร์เกิดจาก

เรื่องสำคัญของการสังเกตอาการของคนในครอบครัวเป็นอันดับแรก ว่าเข้าข่ายที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคอยดูอยู่เสมอ รวมไปถึงเพื่อนสนิท เพื่อนที่ทำงาน หรือคนรอบข้าง ว่าปัญหาชีวิต หรือ ความเครียดในเรื่องต่าง ๆ อาจจะส่งผลให้คนนั้นป่วยเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นแล้ววิธีสังเกตอาการจะมีดังต่อไปนี้

อาการที่เข้าข่ายเป็นไบโพล่าร์

สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการ “แมเนีย” หรือ ในช่วงเวลาอารมณ์ดี จะมีอาการครึกครื้น สนุกสนาน พร้อมแสดงความสามารถ แสดงออกอย่างเต็มความสามารถ มีการพูดมาก พูดเร็ว พูดไม่หยุด มีความคิดที่หลากหลาย มีความรู้สึกว่าตัวเองเก่ง มีความสำคัญ มีความมั่นใจในตัวเองสูง มีแรงมากขึ้นกว่าเดิม หรือที่เรียกว่ามีไฟในการทำอะไรสักอย่างจะทุ่มเทมาก สำหรับบางรายจะนอนเพียงวันละ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น แถมยังไม่มีอาการอ่อนเพลีย สมาธิไม่ดี วอกแวก มีความสนใจไปทุกสิ่งทุกอย่าง มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น  มีการตัดสินใจที่ไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น การใช้เงินฟุ่มเฟือย ซื้อของแพง ที่มันดูออกจะมากเกินความจำเป็นนั่นเอง

สำหรับในบางรายจะชอบเล่นการพนัน หน้าใหญ่ ใจใหญ่ ซื้อของแจกคนไปทั่ว ก่อหนี้สินมากมาย ชอบเที่ยวกลางคืน รวมไปถึงมีความต้องการทางเพศสูง จนไปถึงการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม บางคนรู้สึกหงุดหงิดก้าวร้าวได้ง่าย เมื่อถูกขัดใจ สำหรับคนที่มีอาการ “แมเนีย” จะรู้สึกว่าตัวเองผิดปกติ คิดว่าช่วงนี้ตนเองนั้นสบายใจ สบายดี ขยัน อยากทำงาน มักจะไม่พบว่าตัวเองป่วย ไม่อยากไปพบแพทย์ ปฏิเสธการรักษาในทุกกรณี 

อาการสำหรับกลุ่มซึมเศร้า ตรงข้ามกับ “แมเนีย”

อีกหนึ่งอาการที่จะพบได้บ่อยกว่ากลุ่ม “แมเนีย” ถึง 3 เท่า นั่นก็คือ กลุ่มอาการซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์ ซึ่งโรคนี้จะมีลักษณะที่คล้ายกับโรคซึมเศร้าเลยก็คือ มีอาการเบื่อหน่ายในชีวิต ท้อแท้ มองทุกอย่างในโลกนี้เป็นแง่ลบ ความสนใจ หรืออยากจะทำอะไรในสิ่งต่าง ๆ ลดลงเป็นอย่างมาก เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดี นอนไม่หลับ หรือมีการนอนมากกว่าผิดปกติ รู้สึกผิด รู้สึกโทษตัวเองอยู่เสมอ ไร้ค่า นำไปสู่จุดสุดท้ายของโรคนี้ก็คือ การฆ่าตัวตาย เป็นจุดที่ร้ายแรงที่สุดของโรคนี้นั่นเอง

ปัจจัยหลักของอาการซึมเศร้ามักจะเกิดได้จากความรุนแรงเกี่ยวกับการสูญเสียต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น คนในครอบครัว การทำงาน สังคม โดยจะมีวิธีสังเกตว่าเข้าเป็นกลุ่มซึมเศร้าหรือไม่ ดังต่อไปนี้ 

  • มีการเคลื่อนไหวช้าลง ความคิด การอ่านที่ช้าลง จากปกติ 
  • นอนมาก กินอาหารมากขึ้น 
  • ขาดกำลังใจ มองว่าตัวเองไม่มีประโยชน์
  • ขาดความเพลิดเพลิน ไม่ร่าเริง
  • กลัว วิตกกังวล ไม่กล้าทำอะไร 
  • มองคนอื่นไม่เป็นมิตร 

การสรุปสาเหตุแบบสั้น ๆ เกี่ยวกับ อาการซึมเศร้าประมาณนี้ ก็พอเข้าใจได้เลยว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า หรือไบโพล่าร์ได้เช่นกัน ดังนั้นควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษา ก่อนที่จะสายเกินจะแก้ ซึ่งคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ มักจะมีอาการเกิดขึ้นเป็นรอบ ๆ ประมาณ 3-4 เดือน บางรอบก็อาจจะเป็นอาการขั้วบวก บางรอบก็อาจจะมีอาการซึมเศร้า บางครั้งก็เข้าสู่ภาวะปกติเองได้โดยไม่ต้องรักษา สภาพแวดล้อม ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน การทำงาน ทุกอย่างเป็นปัจจัยที่อาจจะทำให้ผู้ป่วย เป็นขั้วบวกหรือขั้วลบได้เช่นเดียวกัน 


การรับมือเมื่อต้องเผชิญกับอาการไบโพล่าร์

ไบโพล่าร์เกิดจาก

อย่างที่ได้ทราบถึงสาเหตุของโรคไบโพล่าร์ รวมทั้งสถานการณ์ที่อาจจะทำให้เกิดโรคนี้ได้ แน่นอนเลยว่าใครที่อ่านมาถึงจุดนี้ก็พอจะสมมุติเหตุการณ์ว่า ไม่สามารถยับยั้งได้ทันในช่วงแรก ดังนั้นก็ต้องหาวิธีการรับมืออย่างถูกต้อง ถูกวิธี อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ได้อยู่กับคุณอย่างมีความสุข ซึ่งข้อมูลที่พวกเราจะมาแนะนำทุกคนต่อจากนี้ก็คือ การรักษาด้วยการใช้ยา รวมไปถึงการดูแลสภาพแวดล้อม การเอาใจใส่ การปรับเปลี่ยนความคิด การดูแลผู้ป่วยในช่วงเวลาที่เป็น ทั้งหมดนี่ก็คือวิธีการที่จะรับมือในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการไบโพล่าร์ ไม่ว่าจะเป็นขั้วไหนก็ต้องมีวิธีรับมือและจัดการให้ถูกต้อง 

การรักษาผู้ป่วยไบโพล่าร์ 

ด้วยสาเหตุของโรคนี้ ที่เป็นต้นเหตุการณ์สารสื่อนำประสาทเกี่ยวกับสารเคมีในสมอง ส่วนใหญ่แล้วการรักษาจึงจะต้องใช้ยาเป็นหลัก เพราะจะเป็นตัวช่วยในการปรับระดับสารสื่อนำประสาทให้เข้าสู่สมดุล ซึ่งปัจจุบันนี้มียาหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพในการรักษาที่ยอดเยี่ยม ซึ่งยาในกลุ่มนี้จะไม่ใช่ยาประเภทกล่อมประสาท หรือยานอนหลับ ไม่ได้ทำให้ติดยา แต่ทว่าต้องค่อย ๆ ใช้ในระยะยาวถึงจะเห็นผลคือ 2 สัปดาห์ ไปจนถึง 1 เดือนเลย 

ยาที่ใช้รักษา โรคไบโพล่าร์

สำหรับตัวยาที่ใช้รักษาโรคไบโพล่าร์นั้น จะได้แก่ ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์ ยาต้านโรคจิต รวมไปถึงยาต้านซึมเศร้า โดยการใช้ยาเหล่านี้จะได้รับการดูแลจากแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยอยู่เท่านั้น ซึ่งยาแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติ รวมทั้งประสิทธิภาพในการรักษาได้ดังต่อไปนี้

  • ยาควบคุมอารมณ์ จะเป็นยากลุ่มหลักที่ใช้ในการรักษา เพราะในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า ก็ยังคงต้องใช้อยู่ในกรณีที่กลับไปเป็นปกติ ป้องกันการเป็นซ้ำได้ด้วย สำหรับยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ช้า เมื่อปรับยาครั้งหนึ่งก็ต้องรอ 2-3 สัปดาห์ ยาถึงจะเริ่มได้ผล นอกจากนั้นผู้ป่วยที่ใช้ยาในกลุ่มนี้ก็จะต้องถูกเจาะเลือด ดูระดับยาในร่างกาย เพื่อช่วยในการปรับยาด้วย แต่ผลข้างเคียงก็คือ ยากลุ่มนี้คือยาต้องห้ามสำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ 
  • ยาต้านโรคจิต สำหรับยาต้านโรคจิตจะใช้ในผู้ป่วยที่อาการวุ่นวาย มีพฤติกรรมที่สร้างปัญหามาก ๆ ซึ่งมีงานวิจัยรับรองว่า ใช้คุมอารมณ์ พร้อมทั้งป้องกันการกลับไปเป็นซ้ำได้ดีเลยด้วย แพทย์ที่ดูแลโรคนี้จึงให้การรักษาด้วยยาต้านโรคจิต ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ไว พร้อมทั้งช่วยให้สงบสติอารมณ์ได้ดีขึ้น
  • ยาต้านซึมเศร้า สำหรับยาต้านซึมเศร้านี้ จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการอยู่ในระยะซึมเศร้า เบื่อหน่าย ดูไม่อยากจะทำอะไรที่สร้างสรรค์ในชีวิต ซึ่งการที่แพทย์เลือกใช้ยาตัวนี้ จะทำให้อาการซึมเศร้าได้ผลที่แน่นอนขึ้น แล้วเมื่อกลับสู่ภาวะปกติ ก็จะปรับยาเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยอารมณ์ดีผิดปกติ เรื่องที่น่าสนใจ ใช้ยาแก้ซึมเศร้าจะหายจากโรคได้ไหม?

ทั้งหมดนี้คือประเภทยาหลักที่ใช้รักษาอาการไบโพล่าร์ ซึ่งจะมีการใช้ในผู้ป่วยระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ก่อนที่จะกลับมาเป็นปกติประมาณ 2 เดือน แต่หลังจากนั้นก็ยังต้องทานยาเพื่อควบคุมอารมณ์ต่อไปอีก ประมาณ 9-12 เดือน แล้วทางแพทย์ถึงจะพิจารณาให้หยุดยา ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยความสามารถของผู้ป่วย สภาพแวดล้อม สังคมการทำงาน ครอบครัว ที่ต้องช่วยกันดูแลให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว 

การดูแลผู้ป่วยไบโพล่าร์

ขั้นตอนนี้ถือว่าต้องใส่ใจ พร้อมทั้งทำความเข้าใจกันพอสมควร เพราะว่าถ้าต้องการให้ผู้ป่วยหายกลับมาเป็นปกติ หรืออยู่ในช่วงที่ควบคุมได้ การดูแลรักษาผู้ป่วยจึงจัดว่าอยู่ในกระบวนการสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะภาวะที่ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นอีกก็มีสูง แต่ถ้าได้รับการดูแลหรือแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง จะช่วยให้การใช้ชีวิตในครอบครัว กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว ดังนั้น แล้วปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นใหม่อีกครั้งก็คือ การหยุดยา ความเครียด การอดนอน ฉะนั้นจะต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย คลายเครียด หลีกเลี่ยงสารเสพติด สุรา และต้องกินยาตามแพทย์สั่ง ซึ่งผู้ดูแล ญาติ คนรอบข้าง จะต้องทำความเข้าใจดังต่อไปนี้

เข้าใจเกี่ยวกับโรค “ไบโพล่าร์”  

เรื่องแรกที่ผู้ดูแลและคนในครอบครัว จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้อย่างถ่องแท้ว่า สามารถดูแลไม่ยาก รักษาง่าย ซึ่งญาติหรือคนใกล้ชิดจะต้องรับฟังคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์ พยาบาล หรือนักจิตวิทยา เพราะว่าผู้ที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับโรคนี้ รวมถึงการค้นคว้าหาข้อมูลจากเว็บไซต์ เช่น กรมสุขภาพจิต สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย อย่าลืมว่าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ป่วย จะเป็นความผิดปกติ เป็นความเจ็บป่วย ดังนั้นญาติต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ รวมทั้งคนใกล้ชิด เพื่อเป็นอีกหนึ่งกำลังใจของการรักษาดูแลผู้ป่วยให้หายจากโรคนี้ได้เร็วขึ้น

สังเกตอาการกำเริบ

อาการกำเริบ คือ อาการเริ่มต้นของคนที่จะกลับมาเป็นโรคนี้อีกครั้ง ซึ่งผู้ดูแล คนในครอบครัว คนรอบข้าง จะต้องรู้สัญญาณนี้ก่อนใคร ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้ว กับอาการเริ่มต้นที่จะกลับมาเป็นอีกครั้งดังนี้

  • สำหรับขั้ว “แมเนีย” ก็คือ จะหงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ 2-3 วัน มีการพูดมากขึ้น อารมณ์ดีผิดปกติ หรือจะมีพฤติกรรมการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 
  • สำหรับขั้ว “ซึมเศร้า” จะมีการบ่นว่าตัวเองไร้ค่า รู้สึกอยากตาย เริ่มมีการเขียนพินัยกรรมทิ้งไว้ พร้อมทั้งมีการพูดสั่งเสีย 

อาการเริ่มต้นเหล่านี้ยังไม่รุนแรงนัก ซึ่งทางญาติหรือคนใกล้ชิดจะต้องช่วยกันดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อพบอาการเหล่านี้ ก็ต้องจัดการตั้งแต่เนิ่น ๆ มีการปรึกษาแพทย์ โรงพยาบาล หรือพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลนั่นเอง 

เรียนรู้เรื่อง การรับมือถ้าผู้ป่วยอยากฆ่าตัวตาย

เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่ผู้ดูแลจะต้องรับรู้ว่า ผู้ป่วยในขั้วซึมเศร้านั้นจะมีอาการอยากฆ่าตัวตาย รู้สึกด้อยค่ากับชีวิต ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ อย่ากระตุ้นผู้ป่วยด้วยการโต้แย้ง หรือชวนทะเลาะ แม้กระทั่งการใช้น้ำเสียง การรับฟังปัญหา จะต้องรับฟังอย่างจริงใจ ไม่รู้สึกรำคาญ ยิ่งไปกว่านั้นการท้าทายผู้ป่วยเป็นอะไรที่ไม่ควรทำเป็นอย่างมาก วิธีรับมือก็คือ การนำของที่เหมือนเป็นอาวุธ เก็บให้มิดชิด เตรียมเบอร์ติดต่อฉุกเฉินเอาไว้ใกล้ตัว เมื่อหนักขึ้นควรโทรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลประจำทันที  

การทานยาของผู้ป่วย

สิ่งที่ญาติหรือผู้ดูแลต้องรู้ก็คือ ผู้ป่วยโรคนี้ต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ต้องรู้จักสังเกตอาการข้างเคียงจากยา พร้อมทั้งวิธีแก้ไขเบื้องต้น แม้อาการข้างเคียงจากยาเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก แต่ผู้ดูแลจะต้องทำความเข้าใจตั้งแต่ตอนนี้ จะได้ไม่ตกใจ พร้อมทั้งทราบวิธีแก้ไข ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ป่วยมีอาการลิ้นแข็ง หรือพูดไม่ชัด น้ำลายไหลมาก จะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ว่า เกิดขึ้นแค่สักครู่เดียว เมื่อร่างกายปรับตัวกับยาได้แล้ว อาการเหล่านี้จะหายไป สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ อย่าหยุดรับประทานยาเอง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง และขอแนะนำอาการข้างเคียงของการทานยาเอาไว้ดังต่อไปนี้ 

  • เกิดอาการคอแห้ง จะต้องให้ลูกอมแบบไม่มีน้ำตาล หรือให้จิบน้ำบ่อย ๆ 
  • พูดไม่ชัด มีอาการลิ้นแข็ง ต้องระวังการสำลักอาหารกับน้ำ ต้องให้พูดช้า ๆ 
  • น้ำลายไหล ให้ทำความสะอาดช่องปากให้บ่อยขึ้น 
  • อาจจะมีอาการง่วงนอน เคลื่อนไหวช้าลง 

ดูแลสุขภาพกาย-ใจ ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล 

เรื่องที่จะต้องเยียวยากันก็คือ การดูแลผู้ป่วยไบโพล่าร์ จะต้องมีความเข้าใจ มีความอดทน มีการแก้ปัญหาได้ดี ดังนั้นแล้วผู้ที่รับหน้าที่ดูแลผู้ป่วย จะต้องมีความอดทนสูง ต้องดูแลสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยเช่นกัน รวมทั้งสภาพจิตใจที่จะต้องไปรับมือกับผู้ป่วย เพราะจะเป็นเรื่องที่ดี อาจจะทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคนี้ ลดการทานยาลง ไปจนถึงไม่ต้องทานยาอีกต่อไป ส่วนตัวผู้ป่วยเองก็ต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเช่นกัน รวมไปถึงสภาพจิตใจที่จะต้องให้ผู้ป่วยกับผู้ดูแล มองโลกในแง่บวกจึงจะเกิดผลดี พร้อมทั้งผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกันนั่นเอง 


หลังจากที่ได้อ่านรายละเอียดทั้งหมดของโรคนี้แล้วว่า ไบโพล่าร์เกิดจาก อะไร จะพบได้ว่าสาเหตุในการเกิดของโรคนี้ยังไม่แน่ชัดนัก แต่สิ่งที่เรียกว่าการใช้ชีวิต ปัญหาของการใช้ชีวิต คนรอบข้าง ครอบครัว สังคม การทำงาน อาจจะทำให้คนธรรมดา ป่วยเป็นโรคนี้ได้อย่างไม่ยากนัก สำหรับอาการที่คาดว่าเสี่ยงที่จะเป็น ก็สามารถสังเกตได้ง่าย ดูจากการใช้คำพูด หรืออาการอื่นเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นแล้วตัวเราเอง หรือคนรอบตัวก็จะต้องคอยสอดส่องดูแลกันและกัน มีเรื่องเครียด หันหน้าคุยกัน แก้ปัญหา ความกดดันอย่าให้มีในครอบครัว ความผิดหวังจะต้องมีการรับฟังปัญหา แล้วทุกอย่างจะคลี่คลาย ที่สำคัญใครที่มีคนในครอบครัวป่วยก็จะต้องสู้ ทำตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด แล้วทุกอย่างก็จะดีขึ้นตามกาลเวลา


อ้างอิง