โรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง ? เช็กพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดโรค

เนื้อหาบทความ

สิ่งที่อยู่ภายในร่างกาย ตัวเราเองไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากวัยทำงาน หรือวัยผู้ใหญ่ อาจจะค่อนข้างใส่ใจในเรื่องการทำงาน หรือกิจกรรมอื่น ๆ มากกว่า จนลืมไปว่าร่างกายของเราเองอาจจะมีโรคร้ายแรงซ่อนอยู่ก็เป็นได้ ซึ่งแน่นอนเลยว่าเมื่อตรวจพบว่าเป็นแล้ว อาจจะกลายเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษากันระยะเวลายาวมากกว่าเดิม รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่อาจจะเพิ่มขึ้นเป็นค่ารักษา ทำให้ในปัจจุบันทุกคนหันมาสนใจในสุขภาพร่างกายของตนเองมากขึ้น การบำรุงร่างกายด้วยอาหารเสริม ที่ส่งผลอยากให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งกิจกรรมการออกกำลังกายที่คนวัยทำงานหาเวลาเข้าฟิตเนสมากขึ้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น วันนี้พวกเราจึงจะมาพูดถึง “โรคเรื้อรัง” ที่เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คนรักสุขภาพต้องเรียนรู้เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น โรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง สาเหตุในการเกิดอาการแบบนี้ หรือตัวอย่างโรคที่จะต้องทำการรักษาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ซึ่งถ้าหากละเลยหรือไม่ใส่ใจโรคต่าง ๆ เหล่านี้ก็อาจจะเกินควบคุม เกิดโรคแทรกซ้อน และทำให้เสียชีวิตในที่สุด ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องนี้พวกเราได้รวบรวมข้อมูลมาให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษาแล้วดังนี้


โรคเรื้อรัง คืออะไร

โรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง

สำหรับโรคเรื้อรัง จะเป็นโรคที่มีอาการ หรือจะต้องทำการรักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นเดือนหรือเป็นปี ที่แย่ที่สุดก็คือ ต้องรักษาไปตลอดชีวิตนั่นเอง โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโรคส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่สามารถติดเชื้อสู่ผู้อื่นได้ นี่จึงทำให้คุณเองจะต้องอยู่กับโรคเรื้อรังไปจนกว่าจะหาย ตัวอย่างโรคที่พบบ่อย รวมทั้งทุกคนรู้จักกันดีนั่นก็คือ โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวาน นั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าโรคเรื้อรังเหล่านี้จะต้องใช้เวลาในการรักษาเป็นระยะ ไม่สามารถทำให้หายขาดได้ นอกจากจะทำให้อาการดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ แต่ทว่าสิ่งที่ต้องระวังก็คือข้อห้ามต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยจะต้องเคร่งครัดมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งโรคเหล่านี้จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง แน่นอนเลยว่าห้ามซื้อยามาทานเอง และติดตามผลการรักษาต่อเนื่องต่อไป 

จากการศึกษา พร้อมทั้งงานวิจัยจะพบว่าผู้คนทั่วโลก มีโรคเรื้อรังที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเกิดจากสาเหตุกับปัจจัยในชีวิตประจำวันที่ได้รับ โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีอาการรุนแรงจนเสียชีวิต คือ โรคแทรกซ้อนที่จะทำให้ร่างกายไม่สามารถทำงานได้เป็นปกตินั่นเอง โดยผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะต้องดูแลตัวเองให้ดี มีกำลังใจดี ที่สำคัญเมื่อปรับตัวได้แล้วก็จะไม่ได้แตกต่างจากคนปกติทั่วไปนั่นเอง แต่เมื่ออายุที่มากขึ้น โอกาสที่จะเป็นโรคเรื้อรังก็มีสูงขึ้นเช่นกัน คุณอาจสนใจบทความ ปวดหลังออฟฟิศซินโดรม มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร


โรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง ? 5 โรคที่หลายคนมักเผชิญ

โรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง

อย่างที่ได้ทราบกันดีว่า คนไทยมีโรคเรื้อรังที่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากอย่าง “เบาหวาน” เพราะว่าอาหารการกินของถิ่นเรานั้นจะเน้นไปทางรสชาติหวาน ขนมหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ส่งผลให้การเกิดโรคนี้นั้นเกิดขึ้นได้บ่อย ไม่ได้เพียงแต่ผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วปลาย 30 หน่อย ๆ ก็อาจจะตรวจพบโรคนี้แล้วเช่นกัน ซึ่งจะมี 5 โรคเรื้อรังที่หลายคนมักจะพบเจออยู่ รวมทั้งอาการข้างเคียงที่อาจจะส่งผลอันตรายได้ในอนาคตในมุมที่แย่ที่สุดนั่นก็คือ เสียชีวิต นั่นเอง โดยทั้ง 5 โรคที่คุณต้องรู้จักมีอะไรบ้าง ? ไปดูกันเลย 


1. โรคหลอดเลือดหัวใจ

สิ่งที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังแบบนี้ ก็อาจจะดูโชคร้ายไปสักหน่อยสำหรับคนที่อายุน้อย แต่สำหรับผู้สูงอายุแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องแปลก โดยโรคนี้จะเกิดจากไขมันกับเนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือด โดยตัวของเยื่อบุผนังหลอดชั้นในตำแหน่งนั้นหน้าขึ้น จนหลอดเลือดมีการตีบลง ส่งผลให้เลือดทำหน้าที่นำออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลง จึงทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด นั่นเอง อีกทั้งยังจะทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้เจ็บที่หน้าอกด้วย แต่ถ้าหากว่าลิ่มเลือดที่ไปอุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ ก็อาจจะส่งผลให้ผู้ที่ป่วยอยู่เสียชีวิตได้เช่นกัน 

สิ่งที่อันตรายก็คือ หลอดเลือดที่ทำงานคู่กับการส่งไปเลี้ยงยังหัวใจ ซึ่งสามารถเกิดอาหารช็อก หรือทำให้ระบบหัวใจทำงานผิดปกติได้ ส่งผลแย่ที่สุดก็ค่อนข้างที่จะอันตรายถึงชีวิต แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยให้โรคเรื้อรังชนิดนี้ไม่ได้น่ากลัวเกินไป ด้วยวิธีรักษาที่ดี ทำให้ผู้ป่วยหลายรายคลายกังวลได้มากเลยทีเดียว 


2. โรคเบาหวาน

เป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังที่ทุกคนพอที่จะทราบชื่อโรคกันดีกับคำว่า “เบาหวาน” เพราะนี่คือภาวะเรื้อรังของการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยเป็นสาเหตุที่เกิดจากความบกพร่องของกระบวนการสร้าง ฮอร์โมน “อินซูลิน” โดยการทำงานของต่อมหลั่งสารชนิดนนี้ผิดพลาด ทำให้ระบบในการดูดซึมน้ำตาลในเลือดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพจนทำให้เกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณที่เข้มข้น จะส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย เสื่อมสมรรถภาพ รวมทั้งเกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น โรคไต โรคสายตา ไตวาย เป็นต้น ซึ่งเบาหวานนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ 

  • เบาหวานชนิดที่ 1  (IDDM)

ในเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ จะพบประมาณ 5-10% ของโรคเบาหวานทุกประเภท ซึ่งปัจจัยนี้มีความเสี่ยงน้อยกว่าแบบที่ 2 จะมีปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดภาวะแบบแรก โดยได้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง พันธุกรรม รวมทั้งสภาพแวดล้อมด้วย 

  • เบาหวานชนิดที่ 2 (NIDDM)

ในเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น จะพบเป็นจำนวน 90-95% ของโรคเบาหวานทุกชนิด โดยปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานในประเภทนี้จะได้แก่ อายุที่มากขึ้น ความอ้วน รวมทั้งประวัติของบุคคลในครอบครัวที่เคยเป็นเบาหวาน 

  • เบาหวานชนิดเกิดในช่วงตั้งครรภ์ 

สำหรับเบาหวานประเภทนี้ จะเกิดขึ้น เพียง 2-5% เท่านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทั้งหมด แต่ทว่าส่วนใหญ่แล้วก็จะพบว่าหลังการคลอดบุตรนั้น ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 มากขึ้นนั่นเอง ซึ่งมีงานวิจัยที่กล่าวเอาไว้แล้วว่า ร้อยละ 40 ที่เป็นโรคเบาหวานในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ จะเป็นเบาหวานได้ในอนาคตนั่นเอง 

สำหรับโรคเบาหวานนั้น ยังมีชนิดพิเศษอื่น ๆ ด้วย โดยจะมีผลจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด การผ่าตัด การใช้ยาเสพติด อีกทั้งภาวะขาดสารอาหาร รวมไปถึงการติดเชื้อจากอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ด้วยนั่นเอง โดยโรคเรื้อรังชนิดนี้จะสร้างความลำบากแก่การใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นอาการข้างเคียง รวมไปถึงการที่คุณเองจะต้องเข้มงวดในเรื่องอาหาร ที่สำคัญการเป็นแผลสำหรับโรคเบาหวานก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีเอาเสียเลย นี่แหละคือจุดที่ต้องคอยกังวลตลอดเวลาที่ใช้ชีวิต


3. โรคความดันโลหิตสูง

ภายในร่างกาย ถูกสูบฉีดด้วยเลือด ดังนั้นแล้วโรคที่เกี่ยวกับระบบความดันโลหิตที่ทุกคนเคยได้ยินกันดีนั่นก็คือ “โรคความดันโลหิตสูง” ซึ่งจะหมายถึง ภาวะความดันโลหิตที่อยู่ในระดับสูงแบบเรื้อรัง ซึ่งจะมีการประเมินจากความดันที่ต้านกันอยู่ภายในหลอดเลือด ในระหว่างกระบวนการไหลเวียนโลหิต ภาวะความดันที่สูงจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอื่นตามมา เช่น โรคหัวใจ รวมทั้งเส้นเลือดในสมองแตกด้วย รวมไปถึงภาวะความเครียด การใช้ชีวิตก็ส่งผลให้เป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน ถ้าหากว่าคุณเองมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง, ใจสั่น, เหนื่อยง่ายผิดปกติ, ปวดหัวแบบเฉียบพลัน มีอาการอาเจียนร่วมด้วย แขนขาซีกใดซึกหนึ่งอ่อนแรง ตามองเห็นข้างเดียว แต่อาจจะกลับมาเป็นปกติได้ในบางกรณี

ถ้าหากว่าคุณเองป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็เสี่ยงมากที่จะต้องรักษากันแบบใช้เวลานาน เรื้อรัง มีโรคอื่น ๆ เข้ามาแทรกซ้อนเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นโรคไต หลอดเลือดตีบ อัมพาต รวมทั้งโรคหัวใจ เป็นต้น อย่างไรก็ตามนี่ก็คือ 1 ในโรคที่คนไทยส่วนใหญ่เป็นกัน แต่ถ้าหากว่าหมั่นรักษาสุขภาพ ลดความเครียด ความดันโลหิตก็จะอยู่ในเกณฑ์ปกติได้เช่นกัน 


4. โรคไขมันในเลือดสูง 

เป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังที่อยู่ในเส้นเลือดอีกเช่นเคย แน่นอนเลยว่าเรื่องนี้มีการพูดถึงเป็นอย่างมากเกี่ยวกับอาหารอย่างไขมัน คอเลสเตอรอลสูง มักจะเข้าไปทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน ซึ่งภาวะนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ มีระดับไขมันในเลือดที่สูงกว่าค่าปกติ ส่งผลให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตันนั่นเอง โดยโรคนี้ชัดเจนเลยว่าเกิดจากการทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวที่พบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ รวมทั้ง ไขมันทรานส์ที่พบในเบเกอรี่หรือคุกกี้นั่นเอง 

แต่สำหรับบางคนที่เป็นโรคอ้วนอยู่แล้ว ก็จะมีคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูงตามมาได้เช่นกัน ที่สำคัญอาจจะเป็นผลข้างเคียงมาจากอายุ การสูบบุหรี่ หรือการทำลายสุขภาพด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีภาวะความเครียด ก็จะส่งผลให้ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานผิดปกตินั่นเอง ซึ่งนี่คืออีกหนึ่งโรคเรื้อรังที่จะต้องใช้เวลาในการรักษา ถ้าหากว่าไม่สามารถรักษาตัวเองอยู่ในระดับคงที่ได้ เช่น การออกกำลังกาย หรือการลดน้ำหนักอย่างจริงจัง ก็จะทำให้อาการต่าง ๆ ของโรคนี้บรรเทาลงได้ 


5. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยบางรายเป็นตั้งแต่เด็กนั่นก็คือ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะเป็นภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติ รวมทั้งจะเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องภายในหัวใจของเรา จึงส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งจะมีรูปแบบทั้งเร็วเกินไป ช้าเกินไป ทำให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายก็ผิดปกติไปด้วยเช่นกัน อาการที่เกิดขึ้นจะมีอาการวิงเวียน การหายใจขาดเป็นช่วง มีอาการเจ็บหน้าอก หรือ ในระดับรุนแรงจะหมดสติได้เช่นกัน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากลักษณะทางพันธุกรรม หรือการใช้ชีวิตของคุณด้วยเช่นกัน โดยประเภทของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นจะเป็นได้เป็น 2 ชนิดก็คือ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ กับหัวใจเต้นช้ากว่าปกตินั่นเอง 

สำหรับสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นเกิดได้หลายกรณี ตัวอย่างเช่น การเกิดมาจากกำเนิด หรือการทำงานของร่างกายที่มีผลต่อหัวใจโดยตรง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมัน เบาหวาน หรืออาจจะเป็นเครื่องดื่มคาเฟอีน หรือยาบางชนิด ที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน ที่สำคัญเคยก็คือ ความเครียดสะสม กับ ความวิตกกังวล ก็จะทำให้คุณป่วยเป็นโรคนี้ได้อย่างง่ายเช่นกัน 


และนี่คือ โรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง สำหรับโรคเรื้อรังทุกคนจะรู้จักกัน 5 โรคใหญ่ข้างต้น แน่นอนเลยว่าจะเป็นโรคที่เราจะคุ้นเคยกับผู้ใหญ่หลายคน ที่พูดกันติดปากว่า “เบาหวาน ความดัน ไขมัน” แต่ก็ยังมีโรคหัวใจ รวมทั้งหลอดเลือด ซึ่งเมื่อคุณอายุมากขึ้น แน่นอนเลยว่าสิ่งเหล่านี้มักจะมาถามหาอย่างแน่นอน ดังนั้นแล้วใครที่กำลังอยู่ในช่วงที่รักษาสุขภาพให้แข็งแรงได้ก็ต้องปรับตัว หมั่นตรวจเช็กความผิดปกติของร่างกาย ตรวจสุขภาพเป็นประจำ หรือใครที่เข้าข่ายว่าจะเป็นโรคเหล่านี้แล้วก็ไม่ต้องกังวล เพียงแค่รักษาอย่างถูกวิธี สู้ไปกับโรคเรื้อรัง แล้วจะทำให้คุณยังคงสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติแน่นอน


โรคเรื้อรัง มีวิธีการรักษาอย่างไร

โรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง

วิธีการรักษา “โรคเรื้อรัง” ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะทำให้หายขาดได้ยาก อย่างไรก็ตามบุคคลในกลุ่มโรคนี้จะเกิดจากการใช้ชีวิตมาแบบสะสมต่อเนื่อง จนเกิดความเคยชิน โรคเบาหวาน ก็เกิดจากการทานหวาน ส่วนโรคความดันโลหิตก็จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับอาหารรสจัด ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เกิดจากโภชนาการทั้งนั้น แต่สิ่งสำคัญก็คือ ในการรักษาโรคเรื้อรัง จะต้องทำตามประเภทของโรค ซึ่งผู้ป่วยจะต้องรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ได้เป็นโรคเรื้อรังดังกล่าวแล้ว ทางครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด ก็จำเป็นมากที่จะต้องวางแผนในการรักษา รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ทั้งหมด เพื่อที่จะให้อาการไม่ทรุดลงไป พร้อมกับการมีโรคแทรกซ้อนเข้ามาอาจจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ จนในจุดที่แย่ที่สุดคือผู้ป่วยเสียชีวิตนั่นเอง ดังนั้นแล้วเส้นทางการรักษาจึงเป็นหนทางออกที่จำเป็น ซึ่งจะมีรายละเอียดการรักษา พร้อมทั้งช่วยให้ทุกคนดีขึ้นดังต่อไปนี้ 


5 วิธีรักษาผู้ป่วย “โรคเรื้อรัง” 

1. ครอบครัวเข้าใจ

อันดับแรก ครอบครัวจะต้องยอมรับในอาการป่วย โรคที่เป็น เพื่อช่วยกันดูแล แก้ไข ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวาน จำเป็นที่จะต้องควบคุมน้ำตาลในการทำอาหาร หรือในโรคความดันโลหิต ไขมัน ก็อาจจะให้งดอาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูง ไขมันสูง เพราะอาจจะทำให้สิ่งที่เป็นอยู่แย่ลงไปได้ หรืออาจจะก่อให้เกิด ปัญหาทางสุขภาพจิต ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลก็ได้เช่นกัน

2. จัดเตรียมยาให้ผู้ป่วย 

การจัดเตรียมยาให้ผู้ป่วยด้วยตนเอง จะทำให้รู้ถึงสรรพคุณของยาต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ดังนั้นการทานยาของผู้ป่วยหรือตนเอง ก็จะสามารถสังเกตผลข้างเคียงได้เช่นกัน อีกทั้งการเตือนเมื่อคนในครอบครัวจะต้องรับประทานยาในช่วงเวลาใด 

3. ให้ความรู้ ปรับชีวิตใหม่

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ควรที่จะปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น การควบคุมอาหาร การนอนหลับให้เพียงพอ ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งถ้าหากว่าทางครอบครัว หรือตัวผู้ป่วยเองสามารถดูแลตัวเองได้ทั้งหมด จะทำให้โรคเรื้อรังนี้ทุเลาลง ได้ผลดีขึ้น 

4. เสริมอาหารด้วยวิตามินที่จำเป็น

การดูแลสุขภาพในหมู่คนวัยทำงาน อาจจะถูกละเลยไปกับอาหารแต่ละมื้อ แท้จริงแล้วร่างกายก็ต้องการวิตามิน เพื่อเข้าไปช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายแข็งแรง ตัวอย่างเช่น วิตามินซี ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น ดังนั้นแล้วอาหารเสริมจึงเป็นสิ่งที่รักษาทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจด้วย 

5. หมั่นสังเกต ภาวะแทรกซ้อน

การสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอจะเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะจะทำให้คุณได้พูดคุยกับผู้ป่วย ดูแลช่วยเหลือกันในทุกเรื่อง แต่ยังมีเรื่องที่สำคัญอีกก็คือ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อย หรือมีอาการไม่ดีก็จะต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจจะมีโรคแทรกซ้อนโดยที่เราไม่รู้เลยว่าคืออะไร ดังนั้นในทุกวินาทีสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยเองหรือคนในครอบครัว ก็จะต้องดูแลตัวเองให้ดี ไม่เอาตัวเองไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง


สำหรับโรคเรื้อรัง จะมีด้วยกันหลายประเภท ซึ่งบางคนก็กลายเป็นโรคประจำตัวตั้งแต่เด็ก หรือผู้ป่วยบางคนก็เพิ่มจะเป็นตอนอายุ 20 ต้น ๆ เท่านั้น สำหรับตัวอย่างโรคที่กล่าวมาทั้งหมดเชื่อเลยว่าจะเป็นโรคที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว เกี่ยวกับ สาเหตุ อาการ รวมทั้งวิธีการดูแลรักษา แต่รายละเอียดที่จะต้องลงลึกถึงแก่นข้อมูลเพื่อสิ่งที่ถูกต้อง สำหรับวันนี้เชื่อเลยว่าข้อมูลทั้งหมดจะเป็นเรื่องราวดี ๆ ให้กับผู้ที่กำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ สุดท้ายนี้พวกเราหวังว่าข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำไปใช้อย่างถูกต้อง พร้อมกับสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่กำลังป่วย หรือมีอาการของโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ส่วนใครที่กำลังเป็นกังวล ถ้าหากว่ามีการปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตใหม่ รักษาสุขภาพ เน้นพักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด เพียงเท่านี้ชีวิตคุณก็มีความสุขได้อย่างยั่งยืน ไม่ต้องกลัว “โรคเรื้อรัง” 


อ้างอิง