โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดต่อในเด็กที่สามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็วและพบการแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน โดยการติดต่อจะแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากจะเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับลักษณะอาการและดูว่าโรค มือเท้าปากรักษาอย่างไร
มือเท้าปาก เกิดจากอะไร
โรคมือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth Disease) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม Enterovirus 71 (EV71) โดยเชื้อไวรัสสามารถแพร่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจด้วยการสัมผัสโดยตรงกับน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือการสัมผัสกับสิ่งของที่มีคราบน้ำมูก น้ำลายที่ติดอยู่ตามร่างกายหรือสิ่งของ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะทำการฟักตัวนาน 7 วัน โดยที่ไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา แต่หลังจาก 7 วันจึงจะมีอาการแสดงออกมา ซึ่งโรคมือเท้าปากไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ว่าการติดเชื้อโรคนี้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและมีอันตรายถึงชีวิตได้
ลักษณะและอาการของโรค
โรคมือเท้าปากที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปีหรือมากกว่า 5 ปีจะมีอาการที่เหมือนกัน โดยอาการของโรคมือเท้าลักษณะจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. โรคมือเท้าปากแบบไม่รุนแรง
ในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง เมื่อได้รับเชื้อโรคมือเท้าปากอาการของโรคที่แสดงขึ้นมาจะมีความรุนแรงน้อย โดยจะมีลักษณะคล้ายกับการเป็นหวัด ดังนี้
- มีไข้สูง สลับไข้ต่ำ เมื่อรับประทานยาไข้จะลดลงและอาการไข้นี้จะหายภายใน 3 วัน
- เกิดแผลในปากที่มีลักษณะคล้ายแผลร้อนใน
- น้ำลายไหลไม่หยุด เนื่องจากหากกลืนน้ำลายจะรู้สึกเจ็บในปาก เด็กจึงเลือกที่จะปล่อยให้น้ำลายไหลออกมานอกปาก
- ผื่นเป็นตุ่มแดงหรือตุ่มน้ำใส ๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในช่องปากที่บริเวณกระพุ้งแก้ม รอบก้นและบริเวณอวัยวะเพศจะเป็นบริเวณที่พบผื่นและตุ่มมากที่สุด
สำหรับโรคมือเท้าปากแบบไม่รุนแรงจะมีอาการค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 วันและสามารถรักษาให้หายได้ภายใน 7 วัน หรือหากมีอาการ ท้องอืด สามารถรักษาใช้ยาช่วยบรรเทาอาการร่วมได้
2. โรคมือเท้าปากแบบรุนแรง
เป็นโรคมือเท้าปากที่มีความรุนแรงของโรคมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อที่ได้รับ ความแข็งแรงของผู้ป่วย นอกจากนี้พบว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวัคซีนโรคมือเท้าปากจะมีความเสี่ยงเป็นโรคมือเท้าปากแบบรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนมือเท้าปากมาก่อน โดยมือเท้าปากแบบรุนแรงจะมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้
- มีไข้สูง 38.5 ต่อเนื่องเกิน 3 วัน แม้กินยาลดไข้อาการไข้ก็ไม่ลดลง
- เบื่ออาหารหรือรับประทานอาหารได้น้อย เนื่องจากมีแผลในปากเป็นจำนวนมาก ทำให้เวลารับประทานอาหารรู้สึกเจ็บจึงรับประทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งผู้ป่วยบางคนไม่ยอมรับประทานอาหารเลย ถือว่าเป็นภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะผู้ป่วยจะเกิดภาวะขาดสารอาหาร อ่อนเพลีย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้
- ซึมหรือไม่รู้สึกตัว
- เกิดภาวะปากแห้ง เนื่องจากร่างกายขาดน้ำ เพราะว่าผู้ป่วยไม่ยอมดื่มน้ำหรือกลืนน้ำลาย
- อาเจียน
- หายใจเหนื่อยหอบ
- แขนขา อ่อนแรง
- ชัก เกร็ง กระตุก
โรคมือเท้าปากแบบรุนแรงนี้ อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นได้ เช่น ก้านสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น โดยอาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคมือเท้าปากแบบรุนแรงจะแสดงอาการภายใน 2-3 วัน หลังจากแสดงอาการ ดังนั้นหากสังเกตเห็นอาการที่ดังกล่าวจะต้องรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาในทันที
มือเท้าปากรักษาอย่างไร ไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น
สำหรับผู้ป่วยโรคมือเท้าปากที่พบส่วนมากจะเป็นโรคมือเท้าปากชนิดที่ไม่รุนแรง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือรับประทานยาตามอาการที่เกิดขึ้น อาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนทำให้กลายเป็นโรคมือเท้าปากชนิดรุนแรงได้ ซึ่งเราสามารถป้องกันโรคมือเท้าปากไม่ให้มีอาการที่รุนแรงขึ้นได้ดังนี้
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปาก ปัจจุบันนี้ได้มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคมือเท้าปาก (Enterovirus Type71 Vaccine หรือ EntroVac) ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย วัคซีนชนิดนี้สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนจนถึง 5 ปี 11 เดือน การฉีดวัคซีนจะฉีดทั้งหมด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 จะต้องฉีดห่างจากเข็มแรก 1 เดือน ซึ่งวัคซีนสามารถลดความรุนแรงของโรคมือเท้าปากที่เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ได้ 97% และป้องกันโรคมือเท้าปากจากเชื้อ EV71 ได้ 100% สำหรับโรคมือเท้าปากที่เกิดจากการติดเชื้อสายพันธ์อื่น ๆ พบว่าวัคซีนชนิดนี้ยังไม่สามารถป้องกันได้
- พบแพทย์ทันที เมื่อผู้ป่วยมีอาการคล้ายเป็นหวัด แต่มีแผลที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ภายในช่องปากให้รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคมือเท้าปากหรือไม่ เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งเฝ้าระวังและติดตามอาการอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่อาการของผู้ป่วยจะไม่เข้าขั้นวิกฤติ โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กที่ไม่ยอมรับประทานอาหารหรือน้ำ หากเริ่มมีภาวะร่างกายขาดน้ำจะต้องได้รับน้ำเกลือเพื่อให้ร่างกายไม่เกิดภาวะขาดน้ำ อาการชักเกร็ง
วิธีดูแลตัวเองในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปากเป็นโรคที่ทำให้เกิดผื่นบริเวณมือเท้าและปาก และมักเกิดจากเชื้อราในส่วนของผิวหนัง การดูแลตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ดังนั้น ต่อไปนี้เป็นวิธีการดูแลตัวเองหากเป็นโรคมือเท้าปาก
- การรักษาความสะอาดของผิวหนังเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อ ให้ใช้น้ำสบู่และน้ำอบสมุนไพรสำหรับล้างมือและตัว อย่าแกะหรือเกาผิวหนังด้วยเล็บหรือวัตถุอื่น ๆ เพราะอาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ง่ายขึ้น
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผิวหนังของผู้อื่น เช่น การสวมถุงมือหรือการใช้เครื่องมืออื่น ๆ ในการรับของ
- การใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อรักษาอาการผื่น อย่างไรก็ตาม หากอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป
- รับประทานอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักและผลไม้ เนื้อสัตว์
- การใช้เสื้อผ้าและผ้าขนหนูที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่รัดแน่นอาจทำให้เหงื่อออกง่ายบนผิวหนัง และใช้ผ้าขนหนูที่สะอาดและแห้งแล้วในการล้างผิวหนัง โดยเฉพาะหลังอาบน้ำ
- รักษาสุขภาพที่ดี ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนั้น ควรดูแลสุขภาพโดยการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง และดื่มน้ำเพียงพอ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รักษาสุขอนามัยในสถานที่สาธารณะ หลีกเลี่ยงการใช้ที่นั่งรอบ ๆ สระว่ายน้ำหรือสาธารณะสถานที่อื่น ๆ ที่มีความชื้นสูง เพราะสิ่งนี้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อโรคมือเท้าปากได้ง่ายขึ้น
- ระมัดระวังการแพร่เชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ควรระมัดระวังการสัมผัสผิวหนังร่วมกันกับผู้อื่น ไม่ควรแชร์ของบริเวณส่วนที่ติดเชื้อ และควรปิดแผลด้วยผ้าพันแผล
- การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอช่วยตรวจหาโรคและรักษาโรคได้เร็วขึ้น ควรตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ตาม
- หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่อาจทำให้ผิวหนังแห้ง และทำให้เกิดการเปลี่ยนสีผิวหนัง ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารเคมีอันตรายและเหมาะสมกับผิวหนังของตนเอง
โรคมือเท้าปากเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ โดยทำตามคำแนะนำข้างต้น หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแพ้ง่ายต่อการติดเชื้อ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที อย่าเพิ่งกังวลหรือเครียดจนเกิด อาการแพนิค ได้
การดูแลตัวเองเป็นโรคมือเท้าปากเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายและช่วยให้ร่างกายปรับภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น โรคมือเท้าปากสามารถรักษาได้ด้วยการรักษาตามอาการในช่วงแรก นั่นคือ มีไข้ให้กินยาลดไข้ มีอาการคันให้กินยาแก้คันหรือแก้แพ้ สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนและรับประทานอาหารได้ตามปกติจะมีอาการที่ไม่รุนแรงและรักษาหายได้ภายใน 5-7 วัน แต่สำหรับผู้ป่วยที่รับประทานอาหารไม่ได้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมือเท้าปากชนิดรุนแรง ดังนั้นควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เพียงเท่านี้โรคมือเท้าปากก็จะไม่เป็นอันตรายแล้ว
อ้างอิง
- อาการและภาวะแทรกซ้อนของโรคมือเท้าปาก. https://www.bumrungrad.com/th/conditions/hand-foot-mouth
- โรคมือเท้าปาก. https://www.pidst.or.th/A297.html